[TOT]COVER29_Mobile_InsideBanner
SME-tips

5 ปัจจัยในการออกแบบเวทีคอนเสิร์ตให้น่าประทับใจ
บทความนี้ได้รวบรวม 5 ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการออกแบบเวทีคอนเสิร์ต มาดูกันว่ากว่าจะมาเป็นคอนเสิร์ตในฝัน ต้องดูเรื่องใดกันบ้าง

ก่อนจะมาเป็นคอนเสิร์ตสุดประทับใจที่ได้รับการกล่าวถึงนั้น การออกแบบเวทีคอนเสิร์ตที่ดีถือเป็นหัวใจสำคัญในการถ่ายทอดแนวคิดและเรื่องราวของศิลปินออกมาให้เป็นจริง โดยปรากฏมาในรูปแบบภาพและเสียงอย่างสมบูรณ์ เมื่อวางแผนและออกแบบคอนเซ็ปต์ต่าง ๆ ตลอดจนร่างลำดับการแสดงเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงคิวลงมือออกแบบเวทีคอนเสิร์ตให้เป็นไปตามแนวทางที่คิดไว้

บทความนี้ได้รวบรวม 5 ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการออกแบบเวทีคอนเสิร์ต มาดูกันว่ากว่าจะมาเป็นคอนเสิร์ตในฝัน ต้องดูเรื่องใดกันบ้าง

ออกแบบเวทีคอนเสิร์ต ต้องดูอะไรบ้าง


ปัจจัยออกแบบเวทีคอนเสิร์ต 1: มุมมองผู้ชม

5 ปัจจัยในการออกแบบเวทีคอนเสิร์ตให้น่าประทับใจ
ไม่ว่าคุณจะออกแบบตกแต่งเวทีคอนเสิร์ตให้อลังการสวยหรูแค่ไหน ก็ไม่มีประโยชน์หากผู้ชมไม่สามารถชื่นชมภาพเหล่านั้นได้อย่างชัดเจน มุมมองหรือจุดรับชมของผู้ชมจึงถือเป็นเรื่องแรกที่ผู้จัดงานควรพิจารณา ก่อนเริ่มออกแบบเวทีคอนเสิร์ตจึงควรเข้ามาดูสถานที่จริง โดยสำรวจทุกตำแหน่งที่นั่งผู้ชม เพื่อเก็บรายละเอียดมุมมองของแต่ละที่นั่งและนำไปปรับปรุงและวางแผนออกแบบเวทีจริงให้ตอบโจทย์ยิ่งขึ้น ควรดูว่าสถานที่จัดคอนเสิร์ตนั้นออกแบบที่นั่งแบบขั้นบันไดหรือไม่ หรือผู้ชมที่ซื้อบัตรยืนด้านหลังจะมองเห็นการแสดงบนเวทีได้หมดหรือไม่ หากมองเห็นไม่ชัดจะหาทางออกอย่างไร ควรเพิ่มหน้าจอใหญ่ไว้ตรงมุมใดบ้าง คำตอบของสิ่งเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราออกแบบและจัดวางสิ่งต่าง ๆ ภายในสถานที่จัดงานได้ชัดเจน โดยต้องคิดเสมอว่าผู้ชมทุกคนต้องได้รับประสบการณ์ชมคอนเสิร์ตครบถ้วนและเต็มอิ่มเหมือนกัน

ปัจจัยออกแบบเวทีคอนเสิร์ต 2: แสงสี

5 ปัจจัยในการออกแบบเวทีคอนเสิร์ตให้น่าประทับใจ
การสร้างจุดสนใจหรือโมเมนต์น่าจดจำถือเป็นอีกเรื่องที่ทีมงานและผู้จัดงานต้องหารือร่วมกัน โจทย์หลักก็คือควรใส่แสงและสีแบบใด มากน้อยแค่ไหนถึงจะสร้างบรรยากาศอันนำไปสู่การทำให้เกิดอารมณ์ร่วมตามที่ต้องการได้ โดยเฉพาะกรณีที่ต้องการยกระดับและสร้างสีสันให้กับเวทีคอนเสิร์ตแบบเต็มที่ การลงทุนสร้างเอฟเฟกต์แสงสีจะช่วยสร้างบรรยากาศในงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ผู้จัดงานควรทำงานร่วมกับฝ่ายโปรดักชันมืออาชีพที่มีบริการออกแบบไฟ LED ไฟประดับ หรือการควบคุมระบบไฟต่าง ๆ หากผู้จัดงานและทีมงานสามารถออกแบบการแสดงให้สัมพันธ์กับการจัดแสงสี ก็จะทำให้การแสดงโดยรวมกลมกลืนและราบรื่นยิ่งขึ้น

ปัจจัยออกแบบเวทีคอนเสิร์ต 3: ขนาดและพื้นที่เวที

5 ปัจจัยในการออกแบบเวทีคอนเสิร์ตให้น่าประทับใจ
ขนาดและสเกลของเวทีคอนเสิร์ตส่งผลต่อประสบการณ์รับชมของคนดูการแสดงได้มากทีเดียว เวทีขนาดเล็กรายล้อมด้วยกลุ่มผู้ชมแบบ 360 องศา จะให้ความรู้สึกใกล้ชิดแนบแน่นเป็นพิเศษ ในขณะที่เวทีคอนเสิร์ตขนาดใหญ่จะให้ประสบการณ์รับชมที่ดูยิ่งใหญ่ต่างกันออกไป จริงอยู่ที่การออกแบบเวทีคอนเสิร์ตจะคิดออกมาได้หลากหลายรูปแบบ แต่เมื่อพูดถึงการลงมือทำจริงแล้วย่อมมีข้อจำกัดทางเทคนิคตีกรอบเอาไว้ โดยเฉพาะขนาดและสเกลเวทีคอนเสิร์ตทั้งหมด หากคุณสร้างเวทีคอนเสิร์ตที่ตกแต่งด้วยไฮไลต์สาดส่องในมุมสูงทั่วฮอล์ไม่ได้ ก็เน้นสร้างเวทีคอนเสิร์ตที่ดูแล้วกว้างขวางแทน ที่สำคัญ เวทีที่กว้างเหมาะกับสถานที่จัดคอนเสิร์ตแบบปิดที่อยู่ใกล้กับตึกสูงระฟ้า ยิ่งเวทีกว้างมากเท่าไหร่ ก็ออกแบบและสร้างสรรค์การแสดงในแต่ละส่วนได้มากยิ่งขึ้นด้วย

ปัจจัยออกแบบเวทีคอนเสิร์ต 4: เทคนิคพรางตา

5 ปัจจัยในการออกแบบเวทีคอนเสิร์ตให้น่าประทับใจ
การจัดงานคอนเสิร์ตจำเป็นต้องติดตั้งและวางระบบหลายอย่าง แน่นอนว่าต้องมีอุปกรณ์และสายไฟต่าง ๆ วางพาดระเกะระกะ โจทย์ต่อมาหลังออกแบบและวางผังเวทีคอนเสิร์ตลงตัวแล้ว ก็คือหาเทคนิคตกแต่งหรือเก็บอุปกรณ์และสายไฟอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องให้มิดชิดและกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งกับเวทีคอนเสิร์ตนั้น ไม่ว่าจะเป็นสายไฟ ล้อเลื่อน หรืออุปกรณ์บันทึกภาพการแสดงที่ตั้งในจุดต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ควรเก็บไว้ให้พ้นสายตาผู้ชม วิธีที่ง่ายที่สุดคือรวบรวมทุกอย่างไปเก็บไว้หลังม่านหรือหลังฉากที่เตรียมไว้เป็นพื้นที่เก็บของนอกฉาก นอกจากนี้ ทีมงานอาจพิจารณาเรื่องการใช้แสงสีเข้้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ กล่าวคือ ทีมงานอาจออกแบบเวทีคอนเสิร์ต โดยควบคุมระบบแสงสี ส่องไฟไปที่การแสดงบนเวทีเท่านั้น แต่เฟดแสงให้มืดตรงบริเวณที่มีอุปกรณ์วางอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

ปัจจัยออกแบบคอนเสิร์ต 5: ระบบเสียง

5 ปัจจัยในการออกแบบเวทีคอนเสิร์ตให้น่าประทับใจ
ปัจจัยสุดท้ายก็คือระบบเสียง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญของการจัดงานคอนเสิร์ต กระบวนการเตรียมระบบเสียงหรือ soundcheck จะดำเนินงานและควบคุมโดย sound engineer ซึ่งจะดูทั้งเรื่องเสียงดนตรี กีตาร์ เบส รวมทั้งเสียงร้องและเสียงประกอบการแสดงทั้งหมด ก่อนเริ่มทำการแสดงจำเป็นต้องซักซ้อม เพื่อทดสอบคุณภาพของระบบเสียงทั่วไปและระบบเสียงตอนแสดงจริง เพื่อให้แน่ใจว่าเสียงมีความสมดุลและราบรื่น การซักซ้อมและทดสอบระบบเสียงอาจทำก่อนเริ่มงานจริงประมาณ 15 - 30 นาที หรือ 1 - 2 ชั่วโมง ตามความยาวและสเกลของงาน